ไหลผ่านวาล์ว
รูปทรงของวาล์ว
วาล์วที่ใช้ในเครื่องยนต์ส่วนมากจะเป็นวาล์วดอกเห็ด (poppet valve) ซึ่งมีรูปทรงทางเลขาคณิตดังรูปที่ 7.6 สำหรับขนาดของวาล์ว บ่าวาล์ว และช่องไอดีและไอเสียจะกำหนดให้เป็นสัดส่วนกับเส้นผ่านศูนย์กลางของบ่าวาล์วด้านใน เส้นผ่านศูนย์กลางของหัววาล์วไอดีและวาล์วไอเสียจะกำหนดให้เป็นสัดส่วนกับเส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกสูบ
ภาพที่ 7.6 ขนาดของวาล์วและบ่าวาล์ว
ตาราง 7.1 เส้นผ่านศูนย์กลางของหัววาล์วในพจน์ของเส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกสูบ B
รูปทรงของ
ห้องเผาไหม้
|
วาล์วไอดี
|
วาล์วไอเสีย
|
อัตราเร็วลูกสูบ เฉลี่ยโดยประมาณ, ที่กำลังสูงสุด, m/s
|
ลิ่มหรืออ่างน้ำ
(Wedge or bathtub)
|
0.43 – 0.46B
|
0.35 – 0.37 B
|
15
|
หลุมในลูกสูบ
(Bowl – in - piston)
|
0.42 – 0.44B
|
0.34 – 0.37B
|
14
|
ครึ่งทรงกลม
(Hemispherical)
|
0.48 – 0.5B
|
0.41 – 0.43B
|
18
|
หลังคาสี่วาล์ว
(Four – valve pent- roof)
|
0.35 – 0.37B
|
0.28 – 0.32B
|
20
|
จังหวะการปิดเปิดวาล์ว
พื้นที่การไหลผ่านวาล์วที่ขณะใดขณะหนึ่งจะขึ้นอยู่กับระยะยกวาล์วและรูปทรงของวาล์ว บ่าวาล์ว และก้านวาล์ว ระยะยกแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ
ช่วงที่ 1 ระยะยกน้อย พื้นที่การไหลน้อยที่สุด ลักษณะเหมือนรูปกรวยตัดระหว่างวาล์วกับบ่าวาล์วซึ่งตั้งฉากกัน สำหรับระยะยกวาล์ว คือ
พื้นที่น้อยที่สุด คือ
โดย เป็นมุมบ่าวาล์ว(7.7)
เป็นระยะยกวาล์วเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของหัววาล์วเป็นความกว้างของบ่าวาล์ว
ภาพที่ 7.7 แสดงจังหวะการเปิดปิดวาล์วของเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟ 4 สูบ 4 จังหวะ
ภาพที่ 7.8 กราฟแสดงระยะยกวาล์วและพื้นที่น้อยสุดของวาล์วไอดีและไอเสียที่เป็นฟังก์ชั่นของมุมเพลาลูกเบี้ยว เส้นผ่านศูนย์กลางของหัววาล์วไอดีและไอเสีย
ภาพที่ 7.9 แสดงระยะยกของวาล์ว ทั้ง 3 ช่วง
ช่วงที่ 2 พื้นที่การไหลน้อยที่สุดยังคงเป็นพื้นที่ผิวรูปกรวยตัด แต่ผิวนี้ไม่ตั้งฉากกับบ่าวาล์วอีกต่อไป มุมฐานของรูปกรวยเพิ่มจาก ไปเป็นของทรงกระบอก โดยระยะยกวาล์วคือ
พื้นที่น้อยที่สุดคือ
โดย เป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของช่อง(7.8)
เป็นเส้นผ่านศูนย์กลางก้านวาล์วเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของบ่าวาล์ว
ช่วงที่ 3 เมื่อระยะยกมากพอ พื้นที่การไหลน้อยที่สุดจะไม่อยู่ระหว่างหัววาล์วและบ่าวาล์ว แต่จะเป็นพื้นที่การไหลของช่องลบด้วยพื้นที่หน้าตัดของก้านวาล์ว โดยช่วงนี้ระยะยกวาล์วคือ
พื้นที่น้อยที่สุดคือ
(7.9)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น