วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สูตรคำนวน ความกว้างของพอต

สูตรคำนวน ความกว้างของพอต


ออกตัวก่อนว่าฒไม่ใช่ช่าง..ไม่เก่งด้วย..แต่ผมไปเจอมาเลยเอามาฝากครับ
เพื่อเปนแนวทางในการทำพอต ว่า ต้องขยายเท่าไร..ใน 3 พอตนี้ ให้พอดีและเพียงพอกัน

การทำพอตเปนแค่การย้ายกำลังไปในรอบที่เราต้องการเท่านั้น
เช่น กำลังเคยอยู่ที่ 8000 แต่เราจะย้ายไปที่ 15000...
เพื่อให้รอบสูงขึ้นทั้งที่ยังมีกำลัง..แต่ รอบต่ำกว่านั้น ไร้กำลังนะครับ
เอาเลยและกัน

ไอดี ไอเสีย เข้าออกตามพอต มี 2 สิ่งที่เปนตัวแปลหลัก
คือ พื้นที่และเวลาในการเปิดปิด เราจะใช้ค่าเป็น ตารางเซน ต่อ มิลิเซ็ก

แสดงว่าเราต้องรู้ว่า เครื่องหมุน 1 รอบ 360 องศา
แต่ละพอต เปิดนานกี่องศา.....ไปหาซื้อไม้วงกลม 360 องศา มาเจาะรู แล้ววัดดูครับว่าจาก tdc
ไอดี เปิดที่องศาเท่าไร
ทรานเฟอ เปิด และปิดตรงไหน
ไอเสีย เปิดเท่าไรตรงใหน

สมมุติว่าได้มาแล้ว บวกลบ หาว่า แต่ละพอต มีจำนวนเปิด กี่องศา
เช่น ไอเสีย 170 องศา จากที่ 82 ปิด 255
ค่าจำนวนนี้เก็บไว้ก่อนเดี๋ยวใช้

จากนั้น
หาค่าเฉลี่ยของแต่ละพอต ก้อนำจำนวนที่พอตเปิดไปหารสอง
ตำแหน่งนั้นใช้วันความกว้าง เช่า ไอเสีย 170 หาร 2 เท่ากับ 85 ไปเสียเริ่มเปิดที่ 82 เอา 82 บวก 85 ได้ 167 ...
167คือตำแหน่งเฉลี่ยของพอต...ให้หมุนเครื่องไปที่ 167 องศา แล้วลูกอยู่ตรงไหนของพอตไอเสีย ให้วัดความกว้างตรงนั้น..สมมุติได้มา 12 มิล 

จากนั้นมาเข้าสูตร



รอบที่เราสมมุติว่าอยากจะรู้เช่น
8000 รอบ นำมา x 6
ได้48000
ต่อมาหาเวลาที่พอตเปิดก่อน
เวลา เท่ากับ จำนวนองศาที่พอตเปิดปิด หารด้วย 48000 ( มาจาก 6 X รอบ)

เราก้อจะได้เวลาที่พอตเปิดคือ สมมุติ 170 องศา
นำ 170 หาร 48000 ได้ 0.0035 

ต่อมาอีกสูตร
หา เวลา ต่อ พื้นที่
นำ พื้นที่เฉลี้ยพอตเมื่อกี้ มาำเป็น CM เช่น 12 เปน 1.2 CM
หารด้วย จำนวน CC และ คูณ เวลาพอต
ก้อจะเป็น 1.2CM หาร 30 CC คูน 0.0035 = 0.00014 วิ-ชม2/ซม3 

ต่อมามาเที่ยบกับค่านี้ใช้ได้ทุกเครื่อง 
ไอดี .00014-.00016
ทรานเฟอ .00008-.00010
ไอเสีย .00014-.00015

เมื่อกี้เราหาค่าพอตไอเสียได้ .00014 ที่ 8000 รอบ
จากตาราง แสดงให้เห็นว่า ที่ 8000 รอบ พอตของเรามีความกว้างที่เหมาะสมแล้ว....แต่ถ้า 12000 รอบละ ค่าที่ได้ ออกมาน้อยลงแน่นอน แสดงว่าไม่พอ เราก้อแค่ทดลองเปลี่ยน ความกว้าง จาก 1.2 CM ไปให้ใหญ่ขึ้น..จนกว่าจะได้ค่าที่เหมาะสม....

สำหรับท่านที่เรือแรงแล้ว ลองเอาไปคำนวนว่า ตรงมั้ย...ผลเปนไงเล่าให้ฟังบ้างนะคับบบบ 

1 ความคิดเห็น:

  1. สูตรพื้นที่เวลา ผมก็ใช้อยู่คับ เพราะต้องนำค่าเวลาไปคำนวนท่อใอเสียต่ออีกที

    ตอบลบ